วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

ขอทานคือใคร


ขอทาน คือ ใคร


  ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขอทานเด็ก

    .
      ในเมืองใหญ่หรือเมืองเศรษฐกิจหลายๆแห่ง เราคงเห็นพบเห็นคนที่แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ขาด มองดูสกปรก มีกระป๋องหรือภาชนะอื่นๆที่ใช้รองรับเศษเงินจากผู้คนที่ผ่านไปมา และมักจะนั่งอยู่ตามสะพานลอยหรือริมฟุตบาทที่มีคนสัญจรผ่านไปมา คนเหล่านี้ถูกเรียกว่า “ขอทาน”

ขอทานนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว แทบจะเรียกได้ว่าเป็นอาชีพเก่าแก่อาชีพหนึ่งเลยก็ว่าได้ คล้ายจะเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในสังคมไปแล้ว พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ด้วยการขอรับเศษเงินจากผู้ที่ผ่านไปมา ลักษณะโดยทั่วไป คือ ทำตัวให้ดูน่าสงสารด้วยการแต่งตัวให้โทรม เนื้อตัวมอมแมม ใช้ความบกพร่องทางร่างกายซึ่งบางรายก็แกล้งพิการบ้าง โชว์แผลที่ดูน่ากลัวน่าสยดสยองให้เห็นบ้าง หรือบางครั้งก็หอบลูกจูงหลานมานั่งให้ดูน่าเห็นใจ ซึ่งเด็กที่พามาด้วยนั้นใช่ลูกหลานจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ นี่คือปัญหาหนึ่งในสังคมไทยที่มีมานานและนับวันปัญหานี้ก็ยิ่งดูเหมือนจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เชื่อมโยงไปสู่ปัญหาอาชญากรรมหลายๆอย่างในสังคม





ขอทานเด็ก


ขอทานเด็ก


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขอทานเด็ก


             ศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิกระจกเงา ได้ลงพื้นที่ติดตามขบวนการต่างๆ ที่นำเด็กมาขอทาน พบว่า เด็กบางรายต้องออกมาขอทานตั้งแต่ 7 โมงเช้า จนกระทั่งเวลา 5 ทุ่ม กว่าจะได้กลับบ้านพักผ่อน ระยะเวลาในการขอทานช่างเนินนานนัก เมื่อเทียบกับคุณภาพชีวิตแบบข้างถนนที่เด็กไม่สมควรจะได้รับ ซ้ำร้ายเด็กเหล่านี้ขาดโอกาสทางการศึกษาตั้งแต่เริ่มแรก ดังนั้น เมื่อเด็กเติบโตขึ้น ทางเลือกในการประกอบอาชีพเลี้ยงตัวก็ลดน้อยลง                ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัยก็ตาม หากคนในสังคมยังมองภาพการแสวงหาผลประโยชน์จากเด็กอย่างตื้นเขิน ไม่ตั้งคำถามถึงที่มาที่ไป หรือ สงสัยต่อคุณภาพชีวิตที่เด็กทุกคนควรจะมีและควรได้รับการปกป้องคุ้มครอง"เด็กขอทาน" ก็ยังเป็นเครื่องมือที่ขายได้ และจะเป็นภาพที่ชินตาของคนในสังคมต่อไป        
ขอทานเด็กที่พบเห็นส่วนใหญ่จะเป็นเด็กต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านเราโดยเฉพาะกัมพูชา พวกเขาจะถูกซื้อมาจากครอบครัวที่มีฐานะยากจน เส้นทางในการนำเด็กและขบวนการขอทานเข้าสู่ประเทศไทย ไม่ได้มีความสลับซับซ้อนหรือยุ่งยากแต่อย่างใด เพราะมีวิธีนำพาเด็กมุ่งเข้าสู่เมืองหลวงของประเทศไทยได้หลากหลายวิธีทางรถยนต์เป็นวิธีการยอดนิยม อีกวิธีการหนึ่งที่ขบวนการค้าคน จะขนส่งสินค้ามนุษย์เข้าสู่พื้นที่เป้าหมาย        ซึ่งหากพิจารณาถึงสภาพการตรวจตราที่เข้มงวดของเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร ในเส้นทางจากตลาดโรงเกลือถึงจังหวัดปราจีนบุรีแล้ว ไม่น่าเชื่อว่าจะมีขบวนการขนคนรอดสายตาไปได้ แต่ยุทธวิธี “กองทัพมด” ที่จอดรถเดินเท้าอ้อมผ่านด่านตรวจ ก็ยังคงเป็นวิธีการที่ถูกนำมาใช้ และใช้ได้เสมออย่างไม่น่าเชื่อเช่นกัน ทางรถไฟเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่จะสามารถขนคนเข้ามายังกรุงเทพฯ ได้อย่างสะดวก ทั้งๆ ที่บนขบวนรถไฟมีเจ้าหน้าที่รถไฟ และตำรวจรถไฟ คอยตรวจตราอย่างเข้มงวด

ตัวอย่างปัญหาที่เกี่ยวกับกระบวนการเบื้องหลัง


ตัวอย่างปัญหา




      ปัญหาการนำเด็กมาเป็นเครื่องมือในการขอทาน สำหรับปัญหาการนำเด็กมาเป็นเครื่องมือในการขอทานนั้น พบว่ากลุ่มเด็กที่ถูกนำมาขอทานมากที่สุดยังคงเด็กที่มาจากประเทศกัมพูชา โดยเส้นทางที่นายหน้าค้ามนุษย์มักใช้ลักลอบนำเด็กเข้ามานั้น ยังคงเป็นด่านชายแดนอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้วเช่นเดิม ซึ่งจากการลงพื้นที่ของโครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา พบว่าบริเวณด่านชายแดนดังกล่าวสามารถลักลอบเข้าสู่ประเทศไทยได้ง่าย โดยใช้การเดินเท้าและขึ้นพาหนะประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟ , รถประจำทางหรือแม้กระทั่งรถตู้ เพื่อเข้าสู่เมืองเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งโดยมากชาวกัมพูชาที่จะเข้ามาทำการขอทานนั้น มักจะเสียค่าใช้จ่ายให้กับนายหน้าประมาณ 1,500 – 3,000 บาท แทนการทำพาสปอร์ตที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า จึงทำให้หลายครั้งที่มีการเสนอข่าวเกี่ยวกับการช่วยเหลือกลุ่มขอทานไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ จึงพบมักปรากฏข้อมูลว่า “ไม่มีเอกสารแสดงตัวและเป็นการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย”    ในช่วงต้นปี 2555 นั้น ได้เกิดข่าวที่สร้างความครึกโครมให้กับสังคม ภายหลังจากที่มีการนำเสนอประเด็นนายหน้าค้ามนุษย์ตัดลิ้นไก่เด็กให้พิการก่อนที่จะบังคับขอทานในพื้นที่จังหวัดชลบุรี โดยมีการเล่าถึงพฤติกรรมที่เหี้ยมโหดของนายหน้าค้ามนุษย์ที่ใช้มีดกรีดที่ลำคอเด็ก ก่อนจะใช้เหล็กแหลมเสียบแทงเข้าที่ลำคอเพื่อตัดลิ้นไก่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วาทะกรรม “ตัดแขน – ขาเด็กหรือทำร้ายร่างกายเด็กจนพิการก่อนพามาขอทาน” ถูกนำกลับมาพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีการตรวจร่างกายเด็กโดยละเอียดจากแพทย์ ก็ปรากฏข้อเท็จจริงในท้ายที่สุดว่าเด็กมิได้ถูกทำร้ายร่างกายจนพิการแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะเด็กเคยติดเชื้อที่กล่องเสียงจนต้องทำการผ่าตัดและมีความพิการนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งประเด็นดังกล่าวนี้ถือเป็นข้อบกพร่องที่ภาครัฐใช้วิธีการสัมภาษณ์เด็กเพียงประการเดียว มิใช้วิธีทางการแพทย์ที่น่าเชื่อถือมากยิ่งกว่าเพื่อให้ข้อเท็จจริงปรากฏชัด ก่อนที่จะให้ข้อมูลแก่สื่อมวลชน จนทำให้เกิดความตื่นตระหนักต่อสังคมโดยใช่เหตุ นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอข่าวขอทานแกล้งพิการตาบอดที่อำเภอแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ซึ่งแม้มิใช่ปัญหาการนำเด็กมาขอทานโดยตรง แต่ก็ถือเป็นกรณีอุทาหรณ์ได้เป็นอย่างดี เมื่อมีสามี – ภรรยา คู่หนึ่งหาเงินเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยสามีจะทำทีเป็นขอทานตาบอดและฝ่ายภรรยาจะทำหน้าที่พาไปขอทานตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งสามารถทำรายได้ถึงวันละ 3,500 – 4,000 บาท โดยทั้งคู่นำเงินที่ได้จากการขอทานไปใช้จ่ายในการเช่ารีสอร์ทหรูและเที่ยวสถานบันเทิงในช่วงกลางคืนเป็นประจำ จนถูกจับกุมในที่สุด อย่างไรก็ตามในคดีนี้ไม่มีเจ้าทุกข์ร้องเรียนจึงทำให้ไม่สามารถดำเนินคดีในข้อหาหลอกลวงกับทั้ง 2 คนได้


ตัวอย่างปัญหาที่เกี่ยวกับกระบวนการเบื้องหลัง


ตัวอย่างปัญหา


 


       ปัญหาการนำเด็กมาถือกล่องรับบริจาค การนำเด็กมาถือกล่องรับบริจาคนั้น ถือเป็นรูปแบบการนำเด็กมาแสวงหาผลประโยชน์อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเพิ่งปรากฏข้อเท็จจริงในช่วงประมาณเดือนธันวาคม 55 โดยเด็กที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ยังคงเป็นเด็กกัมพูชาเช่นเดียวกับปัญหาเด็กขอทาน จะแตกต่างก็เพียงแต่อายุของเด็กที่ตกเป็นเหยื่อนั้นจะอยู่ระหว่าง 6 – 15 ปี และเด็กที่ตกเป็นเหยื่อนั้น ยังพบเพียงกลุ่มเด็กชายเท่านั้นไม่พบว่ามีเด็กหญิงแต่อย่างใด โดยนายหน้าจะใช้วิธีการซื้อ – ขายเด็กจากครอบครัวที่มีความยากจนในราคาประมาณ 3,000 บาท โดยอ้างว่าจะพาเด็กไปเรียนหนังสือที่ประเทศไทย จากนั้นนายหน้าค้ามนุษย์จะลักลอบนำเด็กเข้าสู่ประเทศไทยทางด่านชายแดนจังหวัดสุรินทร์หรือด่านชายแดนอรัญประเทศ โดยระหว่างทางนายหน้าจะซื้อชุดนักเรียนให้กับเด็ก เพื่อทำให้เด็กหลงเชื่อว่านายหน้าจะพาไปเข้าเรียนในสถานศึกษาจริง แต่ท้ายที่สุดแล้วเด็กจะถูกบังคับให้สวมเสื้อนักเรียนและถือกล่องรับบริจาค ซึ่งเขียนข้อความเรียกร้องความน่าสงสารต่างๆ เป็นภาษาไทย อาทิเช่น “ขอรับบริจาคเพื่อเป็นทุนการศึกษา” ,  “ผมเอาไปรักษาตัวครับ ขอบคุณครับ” หรือ “ผมเป็นเด็กกำพร้า ผมขอบริจาคครับ ขอบคุณ” เป็นต้น จากการวิเคราะห์ของโครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงานั้น คาดว่าการที่นายหน้าเปลี่ยนรูปแบบจากการนำเด็กมาขอทานเป็นการถือกล่องรับบริจาคนั้น อาจเป็นไปได้ว่าการนำเด็กมาขอทานมีรายได้ที่น้อยกว่าเดิม เนื่องจากคนในสังคมเริ่มมีความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการนำเด็กมาขอทานมากขึ้นกว่าในอดีต ทำให้นายหน้าจำต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเรียกร้องความน่าสงสารของเด็กให้แตกต่างจากเดิม ซึ่งการนำเด็กมาแสวงหาผลประโยชน์ในรูปแบบการถือกล่องรับบริจาคนั้น สามารถสร้างรายได้ที่สูงกว่าการนำเด็กมาขอทานเป็นอย่างมาก โดยเด็กถือกล่องจะมีรายได้เฉลี่ยวันละ 1,000 – 1,500 บาทเลยทีเดียว ถือเป็นการนำเด็กมาแสวงหาผลประโยชน์ในอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าจับตามองและคาดว่าในรอบปี 2556 จะมีกลุ่มขบวนการนายหน้าค้ามนุษย์ที่นำเด็กมาแสวงหาผลประโยชน์ในรูปแบบนี้เพิ่มขึ้นอีกอย่างแน่นอน

ขอทานในประเทศไทย

รายงานสถานการณ์ปัญหาเด็กขอทานรอบปี 2556
     
     สถานการณ์ปัญหาเด็กขอทานในรอบปี 2556 นั้น ยังเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงเช่นเดียวกับในหลายปีที่ผ่านมา โดยสถิติการรับแจ้งเบาะแสการนำเด็กมาเป็นเครื่องมือในการขอทานของโครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา มีจำนวนทั้งสิ้น 371 ราย ซึ่งปัญหาเด็กขอทานจะมีการกระจายตัวอยู่แทบทุกพื้นที่ในประเทศไทย เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล, จังหวัดชลบุรี, ระยอง, เชียงใหม่, ลำปาง, นครราชสีมา, ขอนแก่น, สุราษฎร์ธานี, ภูเก็ตและสงขลา เป็นต้น ซึ่งตลอดปีที่ผ่านมานี้ โครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา พบว่าปัจจัยที่ทำให้เด็กต้องเข้าสู่วงจรของการขอทานนั้นมีอยู่หลายสาเหตุด้วยกัน อาทิเช่น

1.ปัญหาการค้ามนุษย์ 
     สำหรับปัญหาการค้ามนุษย์ในรูปแบบการนำเด็กมาเป็นเครื่องมือในการขอทานนั้น เด็กที่ตกเป็นเหยื่อร้อยละ 80 ยังคงเป็นเด็กที่มาจากประเทศกัมพูชาเป็นหลัก ซึ่งนายหน้าค้ามนุษย์ยังคงใช้วิธีการซื้อ – ขายหรือเช่าเด็กจากครอบครัวที่มีความยากจนที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนระหว่างไทย – กัมพูชา โดยจะมีค่าใช้จ่ายในการซื้อ – ขายหรือเช่าเด็กประมาณ 1,500 – 3,000 บาท ต่อคน เพื่อนำมาแสวงหาผลประโยชน์ในรูปแบบเด็กขอทานหรือแสวงหาผลประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ เช่น การนำเด็กมาถือกล่องรับบริจาค เป็นต้น ซึ่งจากการดำเนินงานของโครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา พบกรณีการนำเด็กจากประเทศกัมพูชามาสวมชุดนักเรียนและถือกล่องรับบริจาค ในทำนองขอเป็นค่ารักษาพยาบาล โดยกรณีนี้มีเด็กที่ตกเป็นเหยื่อจำนวน 2 ราย ซึ่งรายหนึ่งมีอาการป่วยเป็นโรคทาลัสซีเมียด้วย ซึ่งแต่ละวันนายหน้าค้ามนุษย์จะให้เด็กตระเวนไปถือกล่องรับบริจาคตามหน้าห้างสรรพสินค้าต่างๆ ในพื้นที่บางกะปิ โดยนายหน้าจะเรียกรับผลประโยชน์จากเด็กวันละ 200 บาท ซึ่งนายหน้าอ้างว่าเพื่อเป็นค่าเช่าห้องและค่าใช้จ่ายในการทำพาสปอร์ตเพื่อให้เด็กใช้ในการเดินทางกลับประเทศกัมพูชา โดยแต่ละวันเด็กจะมีรายได้เฉลี่ยประมาณวันละ 500 - 1,000 บาท ต่อคน ซึ่งกรณีนี้ภายหลังจากที่สามารถช่วยเหลือเด็กได้แล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการขยายผลและบุกเข้าตรวจค้นภายในห้องพักของนายหน้าค้ามนุษย์ ซึ่งพบเอกสารการโอนเงิน รวมมูลค่ากว่า 200,000 บาท รวมถึงเศษเหรียญอีกเป็นจำนวนมากภายในห้องพักดังกล่าวอีกด้วย
2.ปัญหาการถูกแสวงหาผลประโยชน์จากคนในครอบครัวของเด็กเอง
      นอกจากปัญหาการค้ามนุษย์แล้ว สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับปัญหาการนำเด็กมาเป็นเครื่องมือในการขอทานนั้น โครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา พบว่ามีเด็กขอทานจำนวนไม่น้อยที่ตกเป็นเหยื่อจากการถูกแสวงหาผลประโยชน์จากคนในครอบครัวของเด็กเสียเอง อย่างเช่นกรณีที่ทางโครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา สามารถช่วยเหลือเด็กที่ถูกบังคับมาขอทานในพื้นที่ท่าเรือแห่งหนึ่งย่านถนนพระอาทิตย์ ซึ่งกรณีดังกล่าวนั้นมีเด็กที่ถูกบังคับมาขอทานจำนวน 3 ราย ซึ่งเด็กจะถูกบังคับให้หาเงินให้ได้วันละ 400 บาท ซึ่งหากทำรายได้ไม่ครบตามที่พ่อ – แม่ของเด็กกำหนดไว้ ก็จะถูกทุบตีทำร้ายร่างกาย โดยเหตุผลที่พ่อ – แม่บังคับให้เด็กมาทำเช่นนี้ เพราะพ่อ – แม่ของเด็กมีพฤติกรรมติดยาเสพติด จึงใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเอง
3.ปัญหาเด็กที่อพยพมากับแรงงานข้ามชาติ 
     เด็กที่อพยพมากับแรงงานข้ามชาติถือเป็นเด็กอีกกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะกลายมาเป็นเด็กขอทาน เนื่องจากประเทศไทยถือเป็นประเทศหนึ่งที่มีการนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทั้งกลุ่มแรงงานที่มาจากประเทศพม่า, ลาวและกัมพูชา ซึ่งแรงงานข้ามชาติบางกลุ่มใช้วิธีการลักลอบเข้าสู่ประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย เพื่อมาประกอบอาชีพต่างๆ เช่น แรงงานก่อสร้าง, ทำงานตามโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งกลุ่มแรงงานที่อพยพเข้าเมืองมาอย่างผิดกฎหมายนั้น ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองในเรื่องสิทธิที่ลูกจ้างพึงจะได้รับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานในประเทศไทย ดังนั้นกลุ่มแรงงานเหล่านี้จึงมักถูกนายจ้างให้ค่าตอบแทนอย่างไม่เป็นธรรม และทำให้เกิดความยากลำบากในการใช้ชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งย่อมส่งผลกระทบมาจนถึงบุตร – หลานของแรงงานอพยพที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาในประเทศไทยได้

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

กฏหมายของไทยกับขอทาน

มาตรา ๕ ในพระราชบัญญัติ

     “ขอทาน” หมายความว่า ขอทรัพย์สินของผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นการขอด้วยวาจา ข้อความ หรือการแสดงกิริยาอาการใดๆ หรือด้วยวิธีการใด ๆ ทั้งนี้ โดยมิได้มีการตอบแทนด้วยการทำงานอย่างใดหรือด้วยทรัพย์สินใด และมิใช่เป็นการขอกันฐานญาติมิตร แต่ไม่รวมถึงการเรี่ยไรตามกฎหมายว่าด้วย การเรี่ยไร
      การแสดงความสามารถในเรื่องใดๆ หรือการเล่นดนตรี หรือการเล่นอื่นใดแม้มิได้มีข้อตกลงโดยตรงหรือโดยปริยายที่จะเรียกเก็บค่าชมหรือค่าฟัง แต่ขอรับทรัพย์สินตามแต่ผู้ชมหรือผู้ฟังจะสมัครใจให้นั้น ไม่ถือเป็นการขอทานตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ แต่ให้ถือเป็นวณิพกหรือนักแสดงสาธารณะ
     “การสงเคราะห์” หมายความว่า การช่วยเหลือ การบำบัดรักษา การฟื้นฟูทางร่างกาย และจิตใจ ตลอดจนการฝึกอาชีพของผู้รับการสงเคราะห์
     “สถานสงเคราะห์” หมายความว่า สถานที่ที่จัดไว้สำหรับให้การสงเคราะห์
     “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลเมืองพัทยา กรุงเทพมหานคร หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งที่มิใช่องค์การบริหารส่วนจังหวัด
     “เจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า
(๑) นายกองค์การบริหารส่วนตำบล สำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
(๒) นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล
(๓) นายกเมืองพัทยา สำหรับในเขตเมืองพัทยา
(๔) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร
(๕) ผู้บริหารท้องถิ่นหรือหัวหน้าของคณะผู้บริหารท้องถิ่น สำหรับในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น        อื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งที่มิใช่องค์การบริหารส่วนจังหวัด
     “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
     “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
     มาตรา ๖ ให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการมีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบในการสงเคราะห์และควบคุมคนขอทานตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งเสนอนโยบาย แผนงานและมาตรการในการควบคุม สงเคราะห์ และคุ้มครองสวัสดิภาพของผู้ซึ่งขอทาน และแนวทางการจัดการกับผู้หาประโยชน์จากผู้ซึ่งขอทานโดยมิชอบด้วยกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรี
     มาตรา ๗ ห้ามมิให้บุคคลทำการขอทาน
เมื่อปรากฏจากการสอบสวนว่า ผู้ใดทำการขอทานและผู้นั้นเป็นคนชราภาพ หรือคนวิกลจริต พิการ หรือเป็นคนมีโรค ซึ่งไม่สามารถประกอบอาชีพอย่างใด และไม่มีทางเลี้ยงชีพอย่างอื่น ทั้งไม่มีญาติมิตรอุปการะเลี้ยงดู ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งตัวไปยังสถานสงเคราะห์ เพื่อให้การพิจารณาช่วยเหลือตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด
     มาตรา๘ วณิพกหรือนักแสดงสาธารณะประสงค์จะเล่นหรือแสดงในเขตองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นใด ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
เพื่อประโยชน์ในการกำกับ ดูแล คุ้มครอง ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตวณิพก หรือนักแสดงสาธารณะ เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไข หรือวางระเบียบเกี่ยวกับการแสดง หรือการละเล่นของวณิพกหรือนักแสดงสาธารณะได้
     มาตรา๙ ผู้ที่ถูกส่งไปยังสถานสงเคราะห์ ให้อยู่ในอำนาจการควบคุมของอธิบดี ซึ่งอธิบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจะสั่งให้ผู้ที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ทำการงานในสถานสงเคราะห์ หรือจะส่งไปทำการงานที่อื่นก็ได้ตามที่เห็นสมควร
     มาตรา๑๐ เมื่อกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการเห็นสมควรจัดให้มีสถานสงเคราะห์ขึ้นในจังหวัดใด ให้พิจารณาร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนั้น จัดให้มีสถานสงเคราะห์ขึ้น เพื่อให้มีการสงเคราะห์แก่ผู้ซึ่งขอทานที่ได้รับการส่งตัวมายังสถานสงเคราะห์นั้น โดยให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงานสถานสงเคราะห์
การสงเคราะห์ การจัดการทรัพย์สิน วินัย การลงโทษวินัยของผู้รับการสงเคราะห์ในสถานสงเคราะห์ตามวรรคแรก ให้เป็นไปตามระเบียบที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการกำหนด
     มาตรา๑๑ ผู้ใดใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วาน ยุยงส่งเสริม หรือกระทำด้วยวิธีการอื่นใดให้ผู้อื่นขอทาน หรือนำบุคคลอื่นมาเป็นประโยชน์ในการขอทานของตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทำดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
(๑) กระทำต่อบุคคลอายุต่ำกว่าสิบแปดปี
(๒) กระทำต่อผู้สูงอายุ ผู้เจ็บป่วย ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือหญิงมีครรภ์
(๓) ร่วมกันกระทำหรือกระทำกับบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป
(๔) กระทำโดยนำผู้อื่นจากภายนอกราชอาณาจักรให้มาขอทานในราชอาณาจักร
(๕) กระทำโดยผู้ปกครองดูแลของผู้ซึ่งขอทาน
(๖) กระทำโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
(๗)กระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลหรือให้คำปรึกษาบุคคลตาม (๑) หรือ (๒)
(๘) กระทำโดยใช้กำลังบังคับต่อผู้ซึ่งขอทานหรือกระทำต่อบุคคลในครอบครัวของ ผู้ซึ่งขอทาน
ความในวรรคหนึ่งและวรรคสอง (๑) (๒) (๓) และ (๕) ไม่ใช้บังคับกับการกระทำระหว่างบุพการีและผู้สืบสันดานโดยมิได้มีลักษณะเป็นการบังคับหรือขู่เข็ญ
     มาตรา๑๒ ผู้ใดทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นนั้นได้รับอันตรายสาหัส เพื่อนำผู้อื่นนั้นไปใช้ประโยชน์ในการขอทาน ต้องระวางโทษประหารชีวิต
     มาตรา ๑๓ ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือให้ผู้ซึ่งอยู่ในระหว่าง ถูกส่งตัวเข้าสถานสงเคราะห์ หรือผู้รับการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้ หลบหนีออกจากสถานสงเคราะห์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งได้กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยมีหรือใช้อาวุธ ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้กึ่งหนึ่ง
     มาตรา๑๔ ให้สถานสงเคราะห์ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พุทธศักราช ๒๔๘๔ เป็นสถานสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้อยู่ในการบริหารจัดการของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการต่อไป
     มาตรา๑๕ ผู้รับการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พุทธศักราช ๒๔๘๔ ซึ่งได้รับการสงเคราะห์อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ได้รับการสงเคราะห์ต่อไปตามพระราชบัญญัตินี้
     มาตรา๑๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
     กฎหมายที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาขอทานในสังคมเท่านั้น ซึ่งในพระราชบัญญัติควบคุมคนขอทาน ฉบับใหม่ที่กำลังรอการบังคับใช้อยู่ มีมาตรการตีตรามนุษย์โดยการให้จดทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นนั้น ดูจะเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ก่อให้เกิดผลดีอะไรเลย เพราะเป็นการทำเรื่องที่ผิดกฎหมายให้ถูกกฎหมายเท่านั้น ในเรื่องของการแก้ปัญหาขอทานที่แท้จริงจะต้องคำนึงถึงรากของปัญหาให้มากกว่านี้



ตัวอย่างข่าวขอทาน 

หนุ่มจีนใจกล้า..ลงทุนแฉ! ความจริงของ "ขอทานขาด้วน"



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตัวอย่างข่าวขอทาน


     หนุ่มใจกล้าบุกแฉขอทานขาด้วน จับถอดกางเกงต่อหน้าผู้คน เพื่อให้เห็นว่าขายังอยู่ดี เป็นเพียงการแสดงละครตบตาขอเงินเท่านั้น
สำนักข่าวประเทศจีนได้เผยแพร่คลิปภาพเหตุการณ์ แฉเปิดโปงกลุ่มขอทานที่เรียกร้องความสงสาร เมื่อมีคนเข้าไปกระชากหน้ากากพวกเขา ทำให้เห็นชัดเจนว่า ขอทานพิการที่แท้จริงเป็นคนปกติครบ 32 ทุกประการ
     ตามรายงานระบุว่า เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โลกออนไลน์ต่างให้ความสนใจกับคลิปวิดีโอภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นริมถนนแห่งหนึ่งในประเทศจีน แต่ปรากฏว่ามีชายคนหนึ่งบุกเข้าจู่โจมใส่ชายขอทานที่อยู่บนไม้กระดานล้อลาก เคลื่อนที่ไปบนพื้นที่โดยที่ไร้ขา
ชายคนดังกล่าวได้ทำการเปิดโปงความจริง ด้วยการกระชากดึงกางเกงของชายขอทานออก พร้อมกับโชว์ให้ผู้คนที่เดินผ่านไปมาได้เห็นชัดเจนว่า ชายขอทานคนนี้ไม่ได้ขาด้วนแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการแสดงเรียกร้องความสงสาร เพื่อนำไปสู่การขอทานเป็นอาชีพนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม คลิปดังกล่าวยังได้สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆ นานา บ้างก็รู้สึกตาสว่างที่มีคนกล้าทำเช่นนี้ เพื่อเปิดเผยข้อเท็จจริงว่าสังคมต้องเผชิญหน้ากับอะไร และกลอุบายของกลุ่มคนที่ต้องการได้เงินมาง่ายๆ ทั้งที่ตัวเองไม่ได้พิการอะไรเลย แม้ว่าจะมีคนบางส่วนเห็นว่า เหตุดังกล่าวค่อนข้างรุนแรงและล่วงละเมิดสิทธิส่วนตัวเกินไป

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559


การจัดระเบียบขอทาน

การจัดระเบียบคนขอทาน    

     เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา หลายคนคงได้ข่าวการจัดระเบียบขอทานของทางราชการโดยพลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร และองค์กรเอกชน ลงพื้นที่จัดระเบียบคนขอทานทั่วประเทศ และดำเนินการต่อเนื่องถึงวันที่ 30 มกราคม ผ่านหลักการดำเนินงาน 3 P คือ 1.การบังคับใช้กฎหมาย (Prosecution) โดยการจัดทำทะเบียนข้อมูล พัฒนาฐานข้อมูล ขยายผลดำเนินคดีกับขบวนการค้ามนุษย์ 2.การคุ้มครองช่วยเหลือ (Protection) เช่น คัดแยกเหยื่อจากการค้ามนุษย์ คุ้มครองสวัสดิภาพ ฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพในสถานสงเคราะห์
     และสุดท้าย การป้องกัน (Prevention) โดยการศึกษาวิจัยพัฒนาระบบการคุ้มครองทางสังคม พร้อมรณรงค์ให้ความรู้ด้านกฎหมาย และส่งเสริมเครือข่าย พม. เป็นแกนนำเฝ้าระวังการค้ามนุษย์เพื่อแก้ปัญหาขอทานล้นเมือง


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การจัดระเบียบขอทาน



พ.ร.บ ขอทาน

    ครม.เห็นชอบ พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พร้อมบทลงโทษห้ามบังคับ-จ้างวาน รวมถึงการเล่นดนตรีในที่สาธารณะต้องขออนุญาต จนท. 




    วันที่ 20 เม.ย.58 ร้อยเอกนายแพทย์ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุม ครม. ว่า ครม.เห็นชอบ พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน โดยให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ดำเนินการแก้ไขจัดระเบียบขอทาน ยกเลิก พ.ร.บ. ขอทาน พ.ศ. 2484
     โดยมีการตั้งคณะกรรมการควบคุมการขอทาน ห้ามมิให้บุคคลใดทำการขอทาน พร้อมการระบุลักษณะผู้ที่เป็นขอทาน อาทิ การกระทำที่ให้ผู้อื่นมอบทรัพย์สินให้โดยไม่ได้มีการทำงานตอบแทนหรือด้วยทรัพย์สินใด การกระทำใดให้ผู้อื่นเกิดความสงสารโดยไม่ได้มีการทำงานตอบแทนหรือด้วยทรัพย์สินใด
     รวมถึงไม่ให้มีการแสดงในที่สาธารณะ โดยขอรับทรัพย์สินตามผู้ฟังสมัครใจ ซึ่งการเล่นดนตรีในที่สาธารณะ ต้องมีการขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานในท้องถิ่นนั้นก่อน และกฎกระทรวงต้องมีการกำหนดพื้นที่ในการแสดง
     นอกจากนี้ยังกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ใช้บังคับ ขู่เข็ญ จ้างวาน ยุยงส่งเสริม กระทำด้วยวิธีการใดให้ผู้อื่นขอทานหรือนำบุคคลอื่นเป็นประโยชน์ต่อการขอทานของตนด้วย



ประเภทของขอทาน

    ปัญหาคนขอทานในสังคมไทย ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะที่มาของการเป็นขอทาน คือ         ประเภทแรกเป็นขอทานที่ไม่มีอะไรเป็นของตัวเองและไม่มีหนทางที่จะทำมาหากินจริงๆ นอกจากอาศัยความเวทนาของคนอื่น จากความพิการทางร่างกายของตนเอง เป็นเครื่องเลี้ยงปากท้องให้พอเป็นพออยู่ได้ในวันๆหนึ่ง เป็นขอทานด้วยความสมัครใจ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขอทานผู้ใหญ่และอีกประเภทหนึ่ง คือพวกขอทานที่ไม่ใช่ขอทาน กล่าวคือ พวกที่ใช้วิธีการต้มตุ๋นหลอกลวง ผู้ที่มีจิตเมตตา ให้บริจาคทรัพย์ คนพวกนี้อาจมีความสามารถ มิใช่คนจน ยากไร้แต่อย่างใด แต่คิดเอาว่างานขอทานเป็นงานที่สบาย ยิ่งไปนั่งขอทานในย่านคนรวย ยิ่งได้เงินมาก โดยที่ไม่ต้องเสียแรงทำงาน แต่อย่างใด ขอทานพวกแรก หรือพวกที่เป็นขอทานจริงๆนั้น บางคนก็มีลักษณะที่น่าเห็นใจอย่างมาก บ้างพิการ ขาขาดบ้าง แขนขาดบ้าง ตาบอดบ้าง นั่งริมทางเท้า พนมมือไหว้ ผู้คนที่เดินผ่านไปมา ใครเห็นใจก็บริจาคกัน ตามกำลังทุนทรัพย์
    ขอทานพวกที่สอง หรือพวกที่ไม่ใช่ขอทานจริงๆ เป็นพวกอาศัยการฉ้อฉล ทำให้ผู้อื่นสงสาร และบริจาคทรัพย์ให้ คนประเภทนี้บางทีก็สังเกตได้โดยง่าย เช่นแกล้งทำเป็นพิการโดยอาศัยผ้าปิด แต่แท้ที่จริงอวัยวะมีครบทุกส่วน บางจำพวก มีการรวมกลุ่มเป็น กลุ่มขอทานก็มี เป็นมิจฉาชีพ ทำหน้าที่เป็นขอทานโดยเฉพาะ โดยกระจายตัวไปตามจุดต่างๆ ทั่วชุมชน มีคนที่เคยพบเห็นบอกว่า ขบวนการนี้มีการขนส่งขอทานไปตามพื้นที่ต่างๆโดยอาศัยรถยนต์เป็นยานพาหนะ เมื่อถึงที่หมายใด ก็หย่อนขอทานลงไปคนหนึ่ง เมื่อไปเจออีกจุด ก็หย่อนไปอีกคนหนึ่ง และก็จะไปให้ขอทานแต่ละคนทำหน้าที่ขอทานตามที่ได้รับมอบหมาย เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจประจำวัน ก็จะมีรถมารับกลับไปรวมกลุ่ม เพื่อวางแผนเตรียมการสำหรับวันรุ่งขึ้นต่อไป นอกจากนี้ก็มีขอทานบ้างคนที่เป็นขอทานด้วยความสมัครใจ แต่ไม่ได้ใช้ความพิการหรือความเวทนาของผู้อื่นมาแลกกับเงิน หากแต่ใช้ความสามารถในด้านการเล่นดนตรีหรือร้องเพลงมาแลกเงินจากผู้ที่ผ่านไปมา เราเรียกคนขอทานกลุ่มนี้ว่า “วณิพก”


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขอทาน



วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559



องค์ประกอบของสารสนเทศ

1. ฮาร์ดแวร์
    ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รอบข้าง รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจเมื่อพิจารณาเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็น 3 หน่วย คือ
หน่วยรับข้อมูล (input unit) ได้แก่ แผงแป้นอักขระ เมาส์
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
หน่วยแสดงผล (output unit) ได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์

2 . ซอฟต์แวร์
    ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติงาน ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบงาน ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับงานต่างๆ ลักษณะการใช้งานของซอฟต์แวร์ก่อนหน้านี้ ผู้ใช้จะต้องติดต่อใช้

3. ข้อมูล
     ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ

4. บุคลากร
     บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใดโอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์กรที่มีความซับซ้อนจะต้องใช้บุคลากรในสาขาคอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน

5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
     ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนในขณะที่ใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน










HTML

HTML คือ ภาษาหลักที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ โดยใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผล HTML ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Language โดย Hypertext หมายถึง ข้อความที่เชื่อมต่อกันผ่านลิ้ง (Hyperlink) Markup language หมายถึงภาษาที่ใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผลสิ่งต่างๆที่แสดงอยู่บนเว็บเพจ ดังนั้น HTML จึงหมายถึง ภาษาที่ใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผลเว็บเพจที่ต่างก็เชื่อมถึงกันใน Hyperspace ผ่าน Hyperlink นั่นเอง

ความเป็นมาของ HTML เริ่มขึ้นเมื่อปี 1980 เมื่อ Tim Berners Lee เสนอต้นแบบสำหรับนักวิจัยใน CERN เพื่อแลกเปลี่ยนเอกสาร ข้อมูลด้านการวิจัย โดยใช้ชื่อว่า Enquire ในปี 1990 เค้าได้เขียนโปรแกรมเบราเซอร์ และทดลองรันบนเซิฟเวอร์ที่เค้าพัฒนาขึ้น HTML ได้รับการรู้จักจาก HTML Tag ซึ่งมีอยู่ 18 Tag ในปี 1991
HTML ถูกพัฒนาจาก SGML และ Tim ก็คิดเสมือนว่า HTML เป็นโปรแกรมย่อยของ SGML อยู่ในตอนนั้น ต่อมาในปี 1996 เพื่อกำหนดมาตรฐานให้ตรงกัน W3C World Wide Web Consortium จึงเป็นผู้กำหนดสเปกทั้งหมดของ HTML และปี 1999 HTML 4.01 ก็ถือกำเนิดขึ้น โดยมี HTML 5 ซึ่งเป็น Web Hypertext Application ถูกพัฒนาต่อมาในปี 2004 นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาไปเป็น XHTML ซึ่ง คือ Extended HTML ซึ่งมีความสามารถและมาตรฐานที่รัดกุมกว่าอีกด้วย
โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของ W3C (World Wide Web Consortium)








วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Responsive web คืออะไร?


         Responsive Web เป็นออกแบบเพื่อช่วยในเรื่องการปรับรูปแบบแสดงผลเป็นหลักโดยใช้โค้ดร่วมกัน URL เดียวกัน เว็บไซต์จสามารถใช้ได้กับทุกขนาดของหน้าจอ โดยตรวจจับขนาดของหน้าจอ และปรับขนาด และ Layout ให้เหมาะสม ตามขนาดของหน้าจออัตโนมัติ หรือสรุปสั้น คือ การแสดงผลเว็บไซต์ที่รองรับทุกหน้าจอการทำงานนั้นเอง


Responsive Web เกิดได้ยังไง?

        ถ้าเป็นสมัยก่อน เราต้องทำเว็บไซต์ออกมาหลายๆ version เช่น Desktop version กับ Mobile version เพื่อให้เว็บไซต์ของเรา สามารถแสดงผลได้อย่างเหมาะสมกับ Device นั้นๆ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านเวลาและค่าจ้างในการพัฒนา                                         
      Responsive Web Design คือ การออกแบบเว็บไซต์ด้วยแนวคิดใหม่ ที่จะทำให้เว็บไซต์ สามารถแสดงผลได้อย่างเหมาะสม บนอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน โดยใช้ โค้ดร่วมกัน URL เดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

ข้อดีของ Responsive Web  คือ?

 1. สามารถรองรับการแสดงผลได้ทุกหน้าจอ ในรูปแบบที่แตกต่างกันไป
2. เพิ่มความสะดวกสบายสำหรับผู้ใช้งาน สามารถใช้งานได้โดยผ่าน url ตัวเดียวกัน โดยไม่ต้องมีการกำหนดเวอร์ชั่นนี้สำหรับอุปกรณ์มือถือเท่านั้น ซึ่งมีผลดีในด้าน SEO ด้วย
3. การแก้ไขข้อมูล แก้ไขข้อมูลในที่เดียวแสดงผลทุกอุปกรณ์

ข้อเสียของ Responsive Web  คือ?

1. ไม่สามารถรองรับการทำงาน พวก flash หรือพวก Javascript หรือรูปภาพที่มีขนาดใหญ่ได้
2. เนื่องจากอุปกรณ์มือถือแสดงหน้าจอขนาดเล็ก ผู้พัฒนาอาจจะต้องมีการตัดเมนูบางส่วนที่ไม่จำเป็นสำหรับผู้ใช้ออก
3. ในการออกแบบต้องมีการจัดวางโครงสร้างให้ดี
4. การปรับปรุงโครงสร้าง ภายหลังจะแก้ไขยาก อาจจะทำให้โครงสร้างการแสดงผลบ้างส่วนมีปัญหาได้